ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 25
คุณแม่ตั้งครรภ์ได้ 25 สัปดาห์และอาจจะเพิ่งคิดขึ้นมาได้ว่าอีกไม่นานตัวเองก็จะต้องคลอดลูกแล้ว ฟังดูน่ากลัวเล็กน้อยนะคะ แต่ก็น่าตื่นเต้นมาก ๆ เช่นกัน! สิ่งที่ยอดเยี่ยมมากคือโรงพยาบาลส่วนใหญ่ยินดีให้คุณแม่ติดต่อเรื่องเอกสารล่วงหน้าได้ นั่นหมายความว่าอะไรที่ต้องกรอก คุณแม่สามารถกรอกก่อนได้เลย จะได้ไม่ต้องไปจัดการเรื่องต่าง ๆ ในตอนที่ใกล้คลอดนั่นเอง
ทารกในครรภ์อายุ 25 สัปดาห์มีขนาดตัวเท่าใด
ทารกในครรภ์อายุ 25 สัปดาห์นั้นมีขนาดประมาณดอกกะหล่ำค่ะ ยาวประมาณ 13.6 นิ้ว และหนักราว 1.5 ปอนด์
ตั้งครรภ์ 25 สัปดาห์เท่ากับกี่เดือน
ถึงแม้คุณหมอส่วนใหญ่จะติดตามการตั้งครรภ์เป็นรายสัปดาห์ ไม่ใช่รายเดือน แต่ตอนนี้คุณแม่ท้องได้หกเดือนแล้วนะคะ
อาการเมื่อตั้งครรภ์ได้ 25 สัปดาห์
คุณแม่อาจจะรู้สึกว่าตัวเองมีพลังอยู่บ้าง แต่ก็เริ่มหนักใจกับลูกน้อยที่โตขึ้นทุกวันอาการที่คุณแม่อาจประสบในช่วงสัปดาห์ที่ 25 นี้ได้แก่
- มีปัญหาด้านการนอน บางทีคุณแม่อาจนอนไม่ค่อยหลับเพราะกังวลเรื่องที่จะต้องคลอดลูกในเร็วๆนี้ อาจเป็นเพราะฮอร์โมนที่ปั่นป่วน หรือที่จริงแล้วเป็นเพราะท้องที่เริ่มใหญ่ขึ้นจนเป็นอุปสรรค ลองหาทางแก้หลาย ๆ วิธีดูนะคะ หนึ่งในนั้นก็คือให้ดื่มน้ำให้เยอะขึ้นในช่วงเช้า เพื่อที่ช่วงใกล้เข้านอนจะได้ไม่ต้องดื่มเยอะค่ะ วิธีนี้จะช่วยให้คุณแม่ไม่ต้องตื่นมาเข้าห้องน้ำระหว่างคืนด้วยค่ะ นอกเหนือจากนี้ คุณแม่อาจจะลองสวมชุดนอนสำหรับคนท้องเพื่อให้นอนหลับได้ดีขึ้น
- ปัสสาวะบ่อย ตอนนี้ลูกที่โตขึ้นไปเบียดกระเพาะปัสสาวะของคุณแม่แล้วค่ะ คุณแม่เลยต้องไปห้องน้ำบ่อยหน่อย และบางทีก็ไม่หน่อยนะคะ
- ท้องผูก ออกกำลังกาย (อาจจะแค่ออกไปเดินเล่นทั่วไปก็ได้ค่ะ) ดื่มน้ำเยอะ ๆ และรับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูงเอาไว้นะคะ สามารถช่วยได้ค่ะ ลองศึกษา Lydia Diary ดูเพื่อเป็นแรงบันดาลใจค่ะ
- ริดสีดวงทวาร อาการเส้นเลือดฝอยบริเวณทวารหนักบวมนั้นน่าเห็นใจมากเลยนะคะ ริดสีดวงสามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงครึ่งหลังของการตั้งครรภ์ เพราะลูกสร้างแรงกดอย่างมหาศาลต่อทางเดินอาหารของคุณแม่ และอาการท้องผูกก็ยิ่งซ้ำเติมให้หนักเข้าไปอีก การป้องกันอาการท้องผูกให้ได้นั้นจะช่วยให้คุณแม่ไม่ต้องเบ่งเวลาเข้าห้องน้ำ สามารถป้องกันอาการบวมและอาการผิดปกติต่าง ๆ ในอนาคตได้อีกด้วยค่ะ
- มีลมในท้องและท้องอืด ฮอร์โมนส่งผลทำให้ระบบย่อยอาหารของคุณแม่ทำงานช้าลงค่ะ จึงทำให้เกิดลมในท้อง
- แสบร้อนกลางอก นี่เป็นหนึ่งในอาการที่เกิดกับช่องท้องของคุณแม่ค่ะ ลูกเริ่มกดทางเดินอาหารของคุณแม่ ซึ่งสามารถทำให้กรดไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหารและสร้างความรู้สึกแสบร้อนได้ ยาลดกรดส่วนใหญ่ปลอดภัยสำหรับคนท้อง (แต่ตรวจสอบกับคุณหมอก่อนก็ดีนะคะ!) และยังมีแคลเซียมปริมาณมากแถมมาอีกด้วย หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสเผ็ดและอาหารมันก็สามารถช่วยได้เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงเวลาก่อนเข้านอนค่ะ
- เจ็บหลอกหรือเจ็บเตือน โดยปกติแล้ว “การฝึกฝนการบีบตัว” เล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้จะเกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ 28 แต่คุณแม่หลายคนก็มีอาการตั้งแต่ก่อนหน้านั้น หากเกิดอาการนี้ คุณแม่จะรู้สึกได้ว่ามดลูกแข็งและบีบตัว จากนั้นก็กลับไปเป็นปกติ โชคดีที่อาการเจ็บแบบนี้ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย และจะหายไปเมื่อคุณแม่เปลี่ยนท่า การบีบตัวของมดลูกของจริงนั้นจะเกิดขึ้นถี่กว่าและรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ถ้าคุณแม่กังวลว่าการบีบตัวนั้นเป็นการเจ็บจริง ไม่ใช่แค่การซ้อม รีบโทรหาคุณหมอด่วนเลยนะคะ คุณแม่อาจคลอดก่อนกำหนดได้ แม่บางคนมีความเสี่ยงมากที่จะคลอดก่อนกำหนดรวมถึงคุณแม่ลูกแฝดที่ตั้งท้องได้ 25 สัปดาห์ด้วย บางครั้งการคลอดก่อนกำหนดจะสามารถถูกยับยั้งเอาไว้ได้หากรู้ตัวเร็วพอ
ท้องของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ 25 สัปดาห์
ตอนนี้คุณแม่อาจมีน้ำหนักขึ้นมา 15 ถึง 18 ปอนด์แล้ว แต่หากท้องแฝด น้ำหนักของคุณแม่อาจขึ้นมาที่ 25 ถึง 40 ปอนด์
เมื่อท้องได้ 25 สัปดาห์ เรื่องน้ำหนักอาจทำให้เกิดความกังวลได้ เราทราบดีค่ะ เพราะอย่างที่บอกว่าเราอยากให้คุณแม่ค่อย ๆ เพิ่มน้ำหนักอย่างช้า ๆ และสม่ำเสมอ แต่ก็เป็นเรื่องปกติหากน้ำหนักพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงไตรมาสที่สอง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะปริมาณของน้ำที่อยู่ในร่างกายเมื่อตั้งครรภ์มาได้ครึ่งทางแล้ว หากพูดกันตามความเป็นจริง การเพิ่มน้ำหนักในแต่ละสัปดาห์แบบเท่ากันเป๊ะ ๆ ไม่มีทางทำได้จริงหรอกค่ะ ความผันผวนนั้นเป็นเรื่องธรรมดามาก คุณหมอต้องการเพียงแค่ให้คุณแม่ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีเพื่อที่ทั้งลูกและตัวคุณแม่เองจะมีสุขภาพที่ดีที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ (และจะช่วยให้ช่วงไตรมาสสามไม่แย่มาก เพราะคุณแม่จะได้ไม่ต้องแบกน้ำหนักที่มากเกินไปค่ะ!)
เพราะฉะนั้นอย่าคิดมากค่ะหากน้ำหนักเกินมาเล็กน้อย พยายามรับประทานอาหารและออกกำลังกายอย่างเหมาะสม แต่หากมีปัญหาเรื่องน้ำหนักจริง ๆ คุณหมอจะแจ้งให้คุณแม่ทราบเองนะคะ แทนที่จะเครียดจนเกินไปเรื่องน้ำหนัก เราอยากให้คุณแม่มุ่งความสนใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นภายในครรภ์อายุ 25 สัปดาห์มากกว่า
การเคลื่อนไหวของทารกในสัปดาห์ที่ 25 นี้จะชัดเจนขึ้นมาก คุณแม่จะเริ่มจับรูปแบบได้ค่ะ เมื่อรู้สึกถึงการเตะบ่อย ๆ นั่นแปลว่าลูกกำลังตื่น และหากไม่รู้สึก ก็อาจจะแปลว่าลูกกำลังหลับอยู่ การเคลื่อนไหวอย่างสม่ำเสมอเป็นสัญญาณของทารกที่แข็งแรงและตื่นตัวดี ถ้าคุณแม่ไม่รู้สึกว่าลูกดิ้นมาสักพักแล้ว และอยากจะแน่ใจว่าทุกอย่างเรียบร้อยดี ให้ลองดื่มน้ำเย็นจัด เปิดเพลง หรือลองให้คุณพ่อช่วยนวดเบา ๆ ให้นะคะ เจ้าตัวเล็กในท้องก็อาจจะตื่นขึ้นมาเล่นกับคุณแม่ได้ค่ะ
การอัลตราซาวนด์เมื่อตั้งครรภ์ได้ 25 สัปดาห์
ตอนนี้ลูกกำลังสนุกกับประสาทสัมผัสใหม่ที่ทำให้รู้ถึงความสมดุล ใช่แล้วค่ะ ทารกในครรภ์วัย 25 สัปดาห์กำลังเรียนรู้ว่าด้านไหนด้านบนด้านไหนด้านล่าง ตอนนี้ลูกยังสร้างไขมันและเส้นผมกับเส้นขนเพิ่มมากขึ้นด้วยนะคะ!
คุณแม่ไม่น่าจะมีโอกาสได้อัลตราซาวนด์ในสัปดาห์ที่ 25 นี้ค่ะ ยกเว้นคุณหมอสั่งให้จับตาดูลูกในท้องเป็นพิเศษ ในเดือนนี้คุณแม่จะได้เจอคุณหมอหนึ่งครั้ง และเมื่อเริ่มต้นสัปดาห์ที่ 28 คุณแม่จะได้เจอคุณหมอทุก ๆ สองสัปดาห์ค่ะ
คุณแม่จะได้รับการตรวจเบาหวานด้วยการกินน้ำตาลในระหว่างสัปดาห์ที่ 24 ถึง 28 นี้ หากยังไม่ได้รับการตรวจ อย่าลืมนัดคุณหมอนะคะ โดยคุณหมออาจให้คุณแม่งดอาหารก่อนหน้านั้นระยะหนึ่ง (ซึ่งไม่สนุกเท่าไหร่สำหรับผู้หญิงที่กำลังตั้งท้องได้ 25 สัปดาห์) จากนั้นก็ให้ดื่มของเหลวรสหวานจัด ก่อนจะเจาะเลือดออกมาดูว่าร่างกายของคุณแม่จัดการกับน้ำตาลอย่างไร การทดสอบนี้จะสามารถป้องกันภาวะเบาหวานในช่วงตั้งครรภ์ หรืออย่างน้อยก็สามารถเตือนได้ ซึ่งในกรณีนี้คุณหมอจะสั่งให้ทำการตรวจเพิ่มเติมค่ะ
รายการตรวจสอบสำหรับการตั้งครรภ์ 25 สัปดาห์
เรื่องที่ต้องทำในสัปดาห์นี้:
- ไปเที่ยวครั้งสุดท้ายก่อนคลอด!
- เตรียมงานเบบี้เชาเวอร์
- ศึกษาว่ามีของอะไรบ้างที่หมอเด็กไม่แนะนำให้ซื้อ