ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 33
21 Nov , 2020

ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 33

เราอยากบอกให้คุณแม่ทำใจให้สบายและผ่อนคลาย แต่การจะทำเช่นนั้นคงจะยากเหลือเกินในสัปดาห์ที่ 33 นี้ ที่จริงแล้วการทำให้ตัวเองรู้สึกสบายนั้นยากมากทีเดียว เนื่องจากนอกเหนือจากอาการอื่น ๆ ที่ต้องเจออยู่แล้ว คุณแม่อาจมีความรู้สึกว่าร่างกายร้อนกว่าปกติ และคุณแม่ก็ตื่นเต้นมากที่จะได้พบลูกเช่นกัน ในสัปดาห์นี้เป็นเวลาที่เหมาะสมในการเริ่มแพ็คกระเป๋า คุณแม่อาจจะอยากศึกษาเรื่องการดูแลตัวเองหลังคลอดและเตรียมตู้ยาให้พร้อมสำหรับการเป็นคุณแม่มือใหม่ด้วย (ทางโรงพยาบาลก็จะจัดหายาให้อย่างเพียงพออยู่แล้วค่ะ เพราะฉะนั้นคุณแม่ไม่ต้องกังวลนะคะว่าตัวเองจะลืมอะไรไป) แน่นอนว่าคุณแม่จะยังไม่ได้เจอลูกในช่วงเวลาหนึ่งเดือนนี้ แต่ถ้าต้องคลอดก่อนกำหนดจริง ๆ อย่างน้อยคุณแม่ก็จะได้ไม่ต้องกังวลว่าจะเอาเสื้อตัวไหนไปใส่ดีหรือมียาทาแก้ริดสีดวงอยู่ที่บ้านแล้วหรือยัง (เรื่องนี้เราเข้าใจค่ะ)

ทารกในครรภ์อายุ 33 สัปดาห์มีขนาดตัวเท่าใด

ในสัปดาห์นี้ลูกมีขนาดเท่าหัวเซเลอรี่แล้วนะคะ น้ำหนัก 4.2 ปอนด์และยาว 17.2 นิ้ว และอาจยาวขึ้นอีก 1 นิ้วเต็ม ๆ ในสัปดาห์นี้ น่ามหัศจรรย์จริง ๆ!

ตั้งครรภ์ 33 สัปดาห์เท่ากับกี่เดือน

การตั้งท้องได้ 33 สัปดาห์เท่ากับ 8 เดือนค่ะ ถึงแม้ว่าคุณหมอส่วนใหญ่จะติดตามการตั้งครรภ์เป็นรายสัปดาห์มากกว่ารายเดือนก็ตาม

อาการเมื่อตั้งครรภ์ได้ 33 สัปดาห์

ถ้าจะให้สรุปอาการต่าง ๆ ในสัปดาห์นี้ คำเดียวคือ ความไม่สบายตัว! นี่คือสิ่งที่คุณแม่อาจจะต้องเจอค่ะ

  • ร้อนกว่าปกติ คุณแม่อาจรู้สึกร้อนผิดปกติเนื่องจากอัตราการเผาผลาญสูงขึ้นอย่างมาก
  • ปวดหัว ความผันผวนของฮอร์โมนในสัปดาห์นี้ทำให้เกิดอาการปวดหัวได้ เช่นเดียวกับความเครียดและการขาดน้ำ ดังนั้นพยายามทำใจให้สบายและดื่มน้ำมาก ๆ ไปห้องน้ำบ่อยขึ้นหน่อยก็ไม่เป็นไรหรอกนะคะ
  • หายใจไม่อิ่ม ในตอนนี้คุณแม่อาจจะชินแล้วกับการหายใจไม่อิ่ม (โดยเฉพาะหากคุณแม่ตั้งท้องลูกแฝด) ลองนึกภาพว่าจะสบายขนาดไหนเมื่อลูกเคลื่อนตัวลงแล้วและทำให้ปอดมีพื้นที่มากขึ้น สำหรับคุณแม่แต่ละคน การที่ลูกเคลื่อนตัวลงจะเกิดขึ้นในเวลาที่ต่างกันค่ะ แต่ก็ในอีกไม่นานนี้แน่นอน
  • ขี้ลืมและซุ่มซ่าม นี่เป็นปรากฏการณ์ที่รู้จักกันในชื่อ “Baby Brain” อาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นได้จากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายต่าง ๆ แต่อาจมาจากความเครียดและความกังวลเกี่ยวกับลูกที่กำลังจะเกิดมาในอีกไม่ถึงสองเดือนข้างหน้ามากกว่าค่ะ

ท้องของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ 33 สัปดาห์

ในสัปดาห์นี้คุณแม่ควรจะมีน้ำหนักขึ้นมาประมาณ 22 - 28 ปอนด์ สำหรับคุณแม่ลูกแฝดก็อาจจะอยู่ที่ 32 - 42 ปอนด์ สำหรับคุณแม่บางคนนั้น การมีสัดส่วนที่โค้งเว้ามากขึ้นอาจทำให้รู้สึกเซ็กซี่ ตราบใดก็ตามที่คุณหมอยังบอกว่าคุณแม่สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ คุณแม่ก็ยังสามารถทำได้จนกว่าจะถึงวันคลอดเลยนะคะ

ถ้าคุณแม่รู้สึกว่าท้องแข็งขึ้นมาเป็นระยะ นั่นแปลว่าคุณแม่กำลังมีอาการเจ็บเตือนหรือเจ็บหลอกค่ะ สังเกตได้โดย อาการนี้จะไม่ทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บ และมักจะเกิดขึ้นหลังจากมีเพศสัมพันธ์หรือออกกำลังกาย มันแตกต่างจากการเจ็บจริงตรงที่ว่าอาการเจ็บเตือนนั้นจะหายไปเองเมื่อคุณแม่ขยับเปลี่ยนท่าทางค่ะ

การเจ็บจริงนั้นจะเกิดขึ้นและไม่หายไป อย่างน้อยห้าครั้งภายในหนึ่งชั่วโมง และนั่นหมายถึงการเจ็บท้องคลอดจริงๆ ใช่แล้วค่ะ! มันยังเร็วเกินไป ดังนั้นการเจ็บจริงในช่วงนี้หมายถึงการคลอดก่อนกำหนดนั่นเอง ภาวะแทรกซ้อนบางอย่างจะทำให้คุณแม่มีโอกาสคลอดก่อนกำหนดมากขึ้น เช่น การมีน้ำคร่ำมากเกินไป ร่างกายขาดน้ำ หรือตั้งท้องลูกแฝด

ในสัปดาห์ที่ 33 อาการปวดเช่นเดียวกับการปวดประจำเดือน อาจเป็นสัญญาณของการคลอดก่อนกำหนดได้ รวมถึงการมีเลือดออก ตกขาวผิดปกติ หรือมีของเหลวที่ผิดปกติไหลออกมา ในสัปดาห์นี้ แรงกดในอุ้งเชิงกรานก็อาจเป็นสัญญาณที่บอกได้เช่นกัน ลองจับสังเกตอาการเหล่านี้ไว้นะคะ หากมีความกังวล ให้คุณแม่ลองปัสสาวะ จากนั้นนอนตะแคงซ้าย ดื่มน้ำ และโทร.หาคุณหมอทันทีค่ะ

การอัลตราซาวนด์เมื่อตั้งครรภ์ได้ 33 สัปดาห์

ถ้าคุณแม่ได้รับการอัลตราซาวนด์ในสัปดาห์นี้ คุณแม่จะเห็นว่าลูกลืมตาในขณะที่ตื่นอยู่ จังหวะของการหายใจเริ่มสอดประสานเวลาที่ลูกดูดหรือกลืนแล้ว ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญอย่างยิ่งเมื่อออกมาสู่ “โลกภายนอก” กระดูกของตัวอ่อนแข็งขึ้น และยังมีพัฒนาการทางสมองที่สำคัญเกิด (มาก) ขึ้นด้วย ฉลาดจริง ๆ นะ!

ในสัปดาห์นี้ หากมีการอัลตราซาวนด์ ก็จะถือเป็นส่วนหนึ่งของการตรวจ Biophysical profile (BPP) หรือการตรวจประเมินสุขภาพทารกในครรภ์ ซึ่งจะเกิดขึ้นในไตรมาสที่ 3 สำหรับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง (ดังนั้นหากคุณแม่อุ้มท้องลูกแฝดก็มักจะได้รับการตรวจนี้บ่อยๆค่ะ) และหลังจากอุ้มท้องเข้าสัปดาห์ที่ 40 ซึ่งเกินกำหนดคลอดไปแล้ว การทดสอบนี้จะประเมินความเคลื่อนไหว การหายใจ ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ รวมถึงปริมาณน้ำคร่ำ และอีกส่วนหนึ่งของการตรวจ Biophysical profile (BPP) ก็คือ Non-stress test (NST) จะเป็นการวัดอัตราการเต้นของหัวใจลูกว่าเปลี่ยนไปอย่างไรบ้างเมื่อลูกขยับตัว หรือเมื่อคุณแม่เกิดการบีบตัวของมดลูก

คิดเสียว่านี่เป็นการแอบดูเพื่อให้แน่ใจว่าลูกปกติดีก็ได้นะคะ บางทีจะทำให้คุณแม่ผ่อนคลายมากขึ้นด้วย

รายการตรวจสอบสำหรับการตั้งครรภ์ 33 สัปดาห์

เรื่องที่ต้องทำในสัปดาห์นี้:

  1. เตรียมกระเป๋าไปโรงพยาบาล
  2. เตรียมการดูแลตัวเองหลังคลอด
  3. สอบถามเรื่องที่โรงพยาบาลสามารถจัดหาให้ได้ เช่น ที่ปรึกษาด้านนมแม่

Processing...

"" เพิ่มไปที่ตะกร้าเรียบร้อยแล้วดูตะกร้า

เพิ่มไปที่รายการโปรดเรียบร้อยแล้ว